จำหน่าย กล้องวงจรปิด ราคาถูก
 
หน้าแรก สมาชิก ราคาสินค้า ตะกร้าสินค้า วิธีชำระเงิน ติดต่อเรา
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
ค้นหาสินค้า
 
 
 
หมวดสินค้า
  Sensor
  เครื่องตรวจจับโลหะ (Metal Detector)
  Entrance Control
  Access Control
  POE
  Key Card
  ระบบลานจอดรถไม้กั้น
  เครื่องทาบบัตร
  เครื่องสแกนใบหน้า
  เครื่องสแกนลายนิ้วมือ
  ประตูรีโมท
  ชุดกลอนเเม่เหล็กไฟฟ้า
ตะกร้าสินค้าของคุณ
รหัสสินค้า ราคา จำนวน
ยังไม่มีสินค้าอยู่ในตะกร้า
  • ชำระเงิน
  • แก้ไขรายการสินค้า
  • วิธีสั่งซื้อสินค้า


  • ทิปคอมพิวเตอร์
    Adobe Illustrator CS2 กับ PDF
        หลายท่านที่ทำงานด้วยโปรแกรม Adobe Illustrator ไม่ว่าจะเป็นเวอร์ชั่น 9 , 10 หรือ CS มักจะประสบปัญหาเวลาจะทำ PDF ไฟล์ ซึ่งในวิธีการเดิมถึงแม้ว่าจะ Save เป็น PDF โดยตรงได้ แต่ก็ยังติดเรื่องฟ้อนท์ภาษาไทย หรือเรื่องสีที่ไม่ถูกต้องรวมไปถึงเรื่องภาพที่มี Transparency แล้วทำให้เกิด jagged หรือรอยหยักที่ขอบภาพ

    ในการแก้ปัญหาดังกล่าวที่ผ่านมา ทางกลุ่มผมที่สังกัด PrintCafe จะแนะนำว่าให้ใช้วิธีการ Save เป็น eps แล้วทำการ Distiller ให้เป็น pdf ตาม Job Option ที่ต้องการ วิธีการนี้ใช้สำหรับเวอร์ชั่นที่ออกมาก่อน Adobe Illustrator 12 ที่มาพร้อมกับ Adobe CS2 เท่านั้นนะครับ เพราะหลังจากที่ทาง Adobe ได้พัฒนาโปรแกรม Adobe CS 2 ก็ได้เพิ่ม Job Option เป็น PDF/X-1a:2001 และ PDF/X-3:2002 ออกมา ด้วยความสามารถใหม่ที่มีมาพร้อมกับ Adobe CS2 คือ Color Management ที่ติดตั้งมาใน Adobe Bridge เมื่อเรากำหนด Profile ที่ต้องการเช่น US prepress ทุกโปรแกรมที่อยู่ใน Adobe CS2 ก็จะถูกกำหนดค่าเป็น US prepress ทั้งหมด

    ดังนั้นในกรณีที่เราทำงานด้วย Adobe Illustrator CS2 เมื่อเราทำงานเรียบร้อยทั้งภาษาต่างๆ หรือภาษาไทย (ตอนนี้ทำงานได้ที่ฟ้อนท์ที่ติดตั้งมาพร้อมกับ System และตำแหน่งวรรณยุกต์ยังไม่ถูกต้อง) เราสามารถ Save as ไปเป็น PDF/X-1a ได้เลย โดยการทำงานนั้นหากเราจัดการไฟล์ไม่เรียบร้อย เช่นการตั้งค่า Document Raster Setting ไม่ถูกต้อง การเลือกฟ้อนท์ที่ไม่สามารถ Embed ได้ ก็จะมีการเตือนด้วยเครื่องหมายตกใจสีเหลือง ซึ่งผู้ทำงานจะต้องกลับไปจัดการค่าต่างๆ ให้เรียบร้อย

    แต่มีอยู่เรื่องหนึ่งที่จะไม่มีการเตือนคือ เรื่องภาพที่เป็น RGB ถ้าในงานที่เราทำอยู่นั้นมีส่วนประกอบเป็นภาพ RGB หลังจากที่เราทำการ Save เป็น PDF/X-1a เรียบร้อยแล้ว ภาพที่เป็น RGB จะถูก Convert ไปเป็น CMYK โดยอัตโนมัติ ดังนั้นเราไม่ต้องกลัวว่าการใช้งานสีจะผิดเพี้ยน แต่มีข้อควรระมัดระวังตรงที่ File ภาพ RGB นั้นต้องมี Profile RGB ที่ถูกต้องฝังมาด้วย

    ถ้าเราใช้ภาพ RGB ที่ไม่ได้ฝัง Profile ไม่ว่าจะเป็น sRGB หรือ Adobe RGB ระบบก็จะต้องทำการ Convert แบบไม่รู้ที่มา และอาจจะเกิดการเพี้ยนขึ้นได้ ในกรณีนี้ส่วนใหญ่จะเกิดจากการเปิดไฟล์ RGB ใน เวอร์ชั่นเก่า แล้วคนทำงานไม่มีความเข้าใจในเรื่อง CMS หรือทำเป็นเข้าใจแต่จริงๆ ไม่ทราบ เช่นกรณีไปทำการปรับหน้าจอให้ลูกค้า ที่เรียกว่าทำ Calibrate หน้าจอ แล้วเอา Profile หน้าจอที่ปรับมาทำเป็น Working Space ของ RGB อย่างนี้ทำกี่งานก็เสียหายหมด ลองตรวจสอบที่เครื่องของเราด้วยการเปิด Color Setting ขึ้นมา ดูตรง Working Space ของ RGB ว่าเป็น Monitor Profile หรือเปล่า ถ้าเป็นลองเปลี่ยนกลับไปที่ Adobe RGB ดูครับ รับรองงานของคุณจะดีขึ้น

    เราจะเห็นได้ว่าการพัฒนาของโปรแกรมต่างๆ ที่เป็นเวอร์ชั่นใหม่นั้น ผู้ที่ผลิตโปรแกรมได้พยายามสร้างความสามารถที่เวอร์ชั่นก่อนหน้านี้ไม่สามารถทำได้ ให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สาเหตุนี้แหละครับที่ผมพยายามให้ผู้ใช้งานให้เข้าใจในกระบวนการ และทำความเข้าใจในตัวซอฟต์แวร์ มากกว่าการที่มาสร้างมาตรฐานรูปแบบวิธีในการแก้ปัญหาให้เข้ากับพฤติกรรมการใช้งานในบ้านเรา ผมมองว่าเราควรจะต้องปรับความสามารถของคนทำงานให้เข้ากับโปรแกรมทำงานมากกว่า ไม่ใช่ว่าผมอยากให้ทุกคนใช้ของใหม่ แต่ปัจจัยต่างๆ บังคับเราครับ วันนี้เราต้องการซื้อ Adobe สักชุดคุณจะได้เป็น Adobe CS2 ครับ เพราะเวอร์ชั่นเก่าหมดแล้วหมดเลย หรือจะซื้อ Mac เครื่องใหม่ก็จะถูกติดตั้งระบบปฏิบัติการ 10.4 "Tiger " มาเรียบร้อยแล้ว

    ก่อนจากวันนี้ผมคงต้องขอย้ำเรื่องการใช้งานภาษาไทยกับโปรแกรม Adobe อีกสักครั้งนะครับ เพราะตามกระทู้ต่างๆ ได้สอบถามเรื่องนี้กันมาก และก็เกิดความเข้าใจผิดกันมากเช่นกันว่า "ปัญหาเกิดจากไม่มี ฟ้อนท์ภาษาไทย"

    ผมขอกล่าวตรงๆ ว่าฟ้อนท์อย่างเดียวไม่ใช่การแก้ปัญหาครับ เราอย่าพยายามเสาะหาฟ้อนท์ใหม่ๆ มาใช้ก่อนเลยครับ เราหาวิธีการที่สามารถจะใช้งานกับ ฟ้อนท์เดิมๆ ที่มีอยู่ให้ได้เสียก่อน การใช้งานวรรณยุกต์ที่ถูกต้อง การตัดคำที่ถูกตามไวยากรณ์ให้ได้ ถ้าเราแก้ปัญหาตรงจุดนี้ได้ ต่อไปจะใช้ฟ้อนท์อะไรก็สามารถใช้งานได้ทันที เพราะถ้าเราแก้กันไม่ถูกจุดจะทำให้การที่ Adobe จะพัฒนาการใช้งานภาษาไทยจะทำไปคนละแนวทางนะครับ

    ทิปจากกรุงเทพไอที www.bangkokbiznews.com
    • ฐานข้อมูลทิปคอมพิวเตอร์จาก บีคอม
    • หน้าหลักทิปคอมพิวเตอร์

    © Copyright 2018 True Advance Solution Co.,LTD All rights reserved ทะเบียนการค้าเลขที่ 0125558020821