จำหน่าย กล้องวงจรปิด ราคาถูก
 
หน้าแรก สมาชิก ราคาสินค้า ตะกร้าสินค้า วิธีชำระเงิน ติดต่อเรา
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
ค้นหาสินค้า
 
 
 
หมวดสินค้า
  Sensor
  เครื่องตรวจจับโลหะ (Metal Detector)
  Entrance Control
  Access Control
  POE
  Key Card
  ระบบลานจอดรถไม้กั้น
  เครื่องทาบบัตร
  เครื่องสแกนใบหน้า
  เครื่องสแกนลายนิ้วมือ
  ประตูรีโมท
  ชุดกลอนเเม่เหล็กไฟฟ้า
ตะกร้าสินค้าของคุณ
รหัสสินค้า ราคา จำนวน
ยังไม่มีสินค้าอยู่ในตะกร้า
  • ชำระเงิน
  • แก้ไขรายการสินค้า
  • วิธีสั่งซื้อสินค้า


  • ทิปคอมพิวเตอร์
    ความรู้เกี่ยวกับ DIGITAL CAMERA
        กล้องดิจิตอลสามารถแบ่งได้เป็นสามกลุ่มหลักดังนี้

    1. กล้องระดับคอนซูเมอร์
    สำหรับผู้ใช้กล้องทั่วไปนั้น จะว่าไปแล้วก็คือกลุ่มผู้ใช้กล้องที่กำลังเติบโตขึ้นมาก ด้วยจุดเด่นที่นำมาก็คือราคาต่ำ การออกแบบกล้องจะเน้นให้มีขนาดเล็กและเบา แต่ก็ต้องแลกด้วยประสิทธิภาพที่จำกัด เหมาะสำหรับคนที่ต้องการนำไปถ่ายภาพเล็กๆ น้อยๆ แต่อาจจะไม่เหมาะนักถ้าต้องนำไปถ่ายภาพในที่มืด เนื่องจากว่ามีค่า ISO ต่ำ แสงแฟลชบนตัวกล้องนั้นไม่สว่างมากระบบการซูมที่ไม่ดี ระยะมาโครอยู่ในระดับปานกลาง ความละเอียดของ CCD จะมีความละเอียดต่ำสุด ในขณะที่กล้องระดับโปรจะใช้ความละเอียดอยู่ที่ 6 เมกะพิกเซิล แต่กล้องระดับคอนซูมเมอร์นี้จะมีความละเอียดอยู่ที่ประมาณ 2 ถึง สามเมกะพิกเซิลเท่านั้น ซึ่งก็ต้องยอมรับสภาพล่ะครับว่าฟังก์ชั่นที่ใช้งานจำกัดจริงๆ แต่ก็ใช่ว่ากล้องระดับนี้จะคุณภาพไม่ดี เพราะแต่ละรุ่นก็มีจุดเด่นในตัวเอง

    2. กล้องระดับโปรซูเมอร์
    มีจุดเด่นที่ CCD มีความละเอียดสูง ตัวกล้องมีลูกเล่นและความสามารถอยู่ในดับสูง สามารถให้ผู้ใช้ปรับรายละเอียดในการถ่ายภาพได้เกือบทั้งหมด แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีข้อจำกัดอยู่บ้าง สำหรับ CCD ที่ใช้กับกล้องโปรซูเมอร์นี้ในปัจจุบันจะอยู่ที่ประมาณ 5 ล้านเมกะพิกเซล ตัวกล้องสามารถปรับระยะโฟกัสได้ มีระยะมาโครที่ต่ำตั้งแต่ 2 ถึง 10 เซนติเมตร มีโหมด Scene ที่หลากหลายให้เลือกใช้ถ่ายภาพได้ตามสถานการณ์ การซุมภาพจะมีตั้งแต่ 4X จนถึง 10X ทั้งในแบบ Digital Zoom และ Optical Zoom เลนซ์ส่วนใหญ่ที่ใช้จะเป็นเลนซ์ที่มีความกว้างมาก มีค่า ISO สูง ปรับได้หลายระดับตั้งแต่ 100-400 ปรับค่า White Balance ได้ มีฟิลเตอร์ถ่ายภาพขาวดำและภาพซีเปียได้

    3. กล้องระดับโปร
    กล้องส่วนใหญ่จะเป็นกล้อง Digital SLR สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้เทียบเท่ากับกล้องฟิลม์ที่เป็น SLR ตัวกล้องในระดับนี้จะมีขนาดใหญ่ ไม่มีลูกเล่นสำเร็จรูปมาก เพราะงานในระดับนี้ต้องขึ้นกับผู้ใช้งานด้วยว่าต้องการภาพแบบใด และใช้กับเลนซ์แบบใด โดยกล้องที่จำหน่ายกันส่วนใหญ่จะจำหน่ายกันแต่ Body ซึ่งผู้ใช้งานต้องไปหาซื้อเลนซ์มาเองต่างหาก ความละเอียดของจอ LCD จะอยู่ที่ประมาณ 6 ล้านเมกะพิกเซลขึ้นไป ซึ่งกล้องระดับนี้จะมีจุดเด่นที่ความคมชัดและความสามารถในการสร้างมิติของภาพแล้วยังสามารถเขียนไฟล์ภาพในรูปแบบของ RAW ไฟล์ได้ด้วย


    เทคโนโลยี Sensor ที่ใช้ในยุคปัจจุบัน
    สำหรับ Sensor ที่กล้องดิจิตอลแต่ละตัวนำมาใช้ ควรมีความละเอียดของ CCD ไม่ต่ำกว่า 3 ล้านเมกะพิเซล CCR ( Charge Coupled Device) คืออุปกรณ์ชิ้นเล็กที่จะมีหน้าที่ในการแปรสัญญาณแสงที่ตกกระทบให้กลายเป็นสัญญาณไฟฟ้าก่อนที่จะส่งให้กล้องนั้นแปลงสัญญาณไฟฟ้าเป็นภาพ และแสดงให้เราเห็นในหน้าจอนี่เอง แต่ถ้ากล้องดิจิตอลมีแต่ CCD ในเทคโนโลยี CCD สามารถแบ่งออกไปอีก

    CCD Sensor
    CCD นี้ก็คือตัว Sensor ที่แต่ละพิกเซลจะมีตัวที่ทำหน้าที่ในการตรวจความเข้มของแสงที่เข้ามากระทบบน CCD ก่อนที่ CCD นั้นจะแปรค่าแสงเหล่านั้นเป็นตัวเลขเพื่อที่จะช่วยให้ตัวกล้องสามารถนำไปใช้งานเพื่อแสดงผลออกมาเป็นภาพได้ กล้องของ Fuji นั้นจะใช้เทคโนโลยีที่พัฒนา CCD นั้นให้มีความละเอียดมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งเทคโนโลยีที่ว่านี้ก็คือ Super CCD สำหรับ Super CCD นี้ Fuji จะพัฒนาให้แต่ละพิกเซลใน CCD นี้มีลักษณะเป็น 8 เหลี่ยม ในขณะที่ CCD ทั่วไปจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม และทาง Fuji แจ้งว่าการทำพิกเซลให้เป็น 8 เหลี่ยมนี้จะช่วยให้สามารถเพิ่มจำนวนพิกเซลของ CCD และจำทำให้สามารถถ่ายภาพได้ที่ความละเอียดสูงขึ้น หมุนพิกเซลไป 45 องศาจัดเรียงพิกเซลใหม่เป็นรูปรังผึ้ง ความละเอียดในแนวตั้ง / นอน สูงกว่าในแนว 45 องศา เหมาะกับการมองเห็นของมนุษย์ความละเอียดในแนวตั้ง / นอน ต่ำกว่าในแนว 45 องศา ไม่เหมาะกับการมองเห็นของมนุษย์ ความละเอียดโดยรวมของ Super CCD สูงกว่า CCD แบบเดิมถึง 60%CCD แบบเดิมใช้วิธีการสร้างจุดที่เรียกว่า ?Interpolation? ซึ่งได้ภาพที่คุณภาพไม่ค่อยดีนัก เนื่องจาก
    - ขนาดพิกเซล (โฟโต้ไดโอด) มีขนาดเล็ก
    - แต่ละพิกเซลมีระยะห่างกันมากพิกเซลใหม่มีความละเอียดในแนว ตั้ง / นอน ต่ำ
    - แต่วิธีการ ?Generation? ใน Super CCD มีคุณภาพที่สูงกว่า และใกล้เคียงกับพิกเซลเดิมเนื่องจาก
    - Super CCD มีขนาดพิกเซลใหญ่
    - แต่ละพิกเซลอยู่ใกล้กัน
    - จุดที่ Generate ขึ้นใหม่ มีความละเอียดในแนว ตั้ง / นอน สูง

    อุปกรณ์เก็บข้อมูล
    - SmartMedia
    เป็นสื่อบันทึกข้อมูลแบบ Solid State ที่เป็นที่นิยมใช้กันในช่วงแรก เป็นเทคโนโลยีที่บริษัท Toshiba เปิดตัวขึ้นมาเมื่อปี 1995 มีจุดเด่นอยู่ที่ความบางแค่ 0.8 มิลลิเมตร และสามารถพกไปใช้งานได้สะดวก กินไฟต่ำ แต่ในขณะเดียวกัน SmartMedia ก็มีจุดด้อยอยู่ตรงที่ขนาดของความจุต่อแผ่นนั้นจะถูกจำกัดอยู่ที่ 128 เมกะไบต์ และความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลนั้นจะน้อยกว่าสื่อบันทึกข้อมูลชนิดอื่น SmartMedia นั้นจะมีอยู่สองแบบ และทั้งสองชนิดนี้จะใช้ไฟฟ้าต่างกัน โดยรุ่นแรกจะใช้ไฟ 5V และอีกรุ่นจะใช้ไฟ 3.3V

    - Compact Flash และ Microdrive
    เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่เก่าแก่ที่สุด เปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี 1994 ถ้าจะนับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันก็เป็นสื่อบันทึกข้อมูลของกล้องดิจิตอลที่มีผู้นิยมใช้งานมากที่สุด ด้วยจุดเด่นที่มีน้ำหนักเบา มีขนาดเล็กพอกับ SmartMedia แต่หนากว่าเล็กน้อย (3.3 มิลลิเมตร) มีขนาดที่หลากหลายตั้งแต่ 8 เมกะไบต์ ไปจนถึง1 กิกะไบต์ กินไฟต่ำ สามารถเขียนข้อมูลได้เร็วกว่า SmartMedia เกือบเท่าตัว แต่ความเร็วในการส่งข้อมูลนั้นพอกัน CompactFlash สำหรับ Compact Flash สามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภท แบบแรกหรือแบบดั้งเดิมนั้นจะเป็น Compact Flash ที่จัดเก็บข้อมูลในลักษณะ Solid State Memory แต่เนื่องจากเจอข้อจำกัดในด้านความจุของข้อมูลที่จะมีจำกัด ทำให้บริษัท IBM ได้พัฒนา Compact Flash Type II ขึ้นมาซึ่งเริ่มเปิดตัวด้วยความจุสูงถึง 340 เมกะไบต์ มีจุดเด่นที่การทำงานภายในจะคล้ายกับฮาร์ดดิสก์ขนาดเล็ก เก็บข้อมูลได้มาก เขียนและอ่านข้อมูลได้รวดเร็วกว่าเดิม ซึ่งตอนนี้ความจุสูงสุดของ Compact Flash Type II อยู่ที่ 1 กิกะไบต์ แต่ว่า Compact Flash Type II นี้จะกินไฟมาก ทำให้เปลืองแบตเตอรี่มากขึ้นกว่า Compact Flash แบบแรก Compact Flash Type II ส่วนใหญ่มักจะเป็นกล้องระดับโปรซูมเมอร์ถึงกล้อง Digital SLR ระดับโปรซึ่งการใช้งานในระดับสูงนั้นจะต้องการพื้นที่ในการเก็บข้อมูลมาก

    - Memory Stick
    พัฒนาขึ้นมาโดยบริษัท Sony Memory Stick นี้มีความเร็วในการเขียนและอ่านข้อมูลพอกับ Compact Flash มาก เป็น Memory แบบ Solid State มีความจุที่หลากหลาย แม้ว่าในระยะแรกของการเปิดตัวจะทำความจุได้สูงสุดที่ 64 เมกะไบต์ และมีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลที่เป็นรองอยู่มากแต่ทาง Sony ก็พัฒนาขึ้นมาตามลำดับ ปัจจุบันสามารถพัฒนาให้มีความจุสูงสุดที่ 4 กิกะไบต์ได้สามารถนำ Memory Stick ไปใช้ร่วมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นของ Sony ได้ อย่างเช่นกล้อง DV หรือ แม้แต่นำ Memory Stick ไปไว้เก็บไฟล์เสียงหรือ MP3 ได้เช่นกัน

    CD และ Floppy
    ยังมีการบันทึกข้อมูลอีกรูปแบบหนึ่งคือกล้องที่ใช้สื่อบันทึกข้อมูลแบบ CDR และแผ่น Floppy สำหรับกล้องที่มีไดร์ฟ CDR ในตัวนั้น จุดเด่นที่น่าสนใจอยู่ที่สามารถถ่ายรูปลง Buffer และเลือกภาพที่ต้องการเขียนลงบนแผ่นได้ทันที แต่ในขณะเดียวกันก็มีข้อเสียอยู่ตรงที่ตัวกล้องนั้นจะมีน้ำหนักมาก และกินไฟค่อนข้างมากครับ ส่วนกล้องที่สามารถเขียนไฟล์ภาพลงบน Floppy นั้นก็คล้ายกันคือ ตัวกล้องจะมีขนาดใหญ่ และมีความเร็วในการเขียนข้อมูลที่ช้ามาก แต่ถ้าจะนับกันตามความจุและความสะดวกแล้วก็ต้องยอมรับว่าหาได้ง่ายกว่า

    ข้อมูลจาก www.dcomputer.com
    • ฐานข้อมูลทิปคอมพิวเตอร์จาก บีคอม
    • หน้าหลักทิปคอมพิวเตอร์

    © Copyright 2018 True Advance Solution Co.,LTD All rights reserved ทะเบียนการค้าเลขที่ 0125558020821